|
|
ชื่อ Thai Name
|
มะพูด Ma phut |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz |
|
วงศ์ Family
|
CLUSIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
-
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้นสูงได้ถึง 10 เมตร น้ำยางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่อกระจุกซี่ร่ม กลีบดอกสีขาวแกมเหลืองหรือขาวแกมเขียว ออกที่ง่ามใบ ผลสด รูปกลม เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบตามป่าดิบชื้น และตามชายห้วยหรือพื้นที่ริมน้ำในป่าเบญจพรรณ ในประเทสไทยจะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และในพื้นที่แถบชายแดนจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ในต่างประเทศพบที่ฟิลิปปินส์ ชวา ลาว กัมพูชา และบอร์เนียว
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ผล รสเปรี้ยวอมหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ราก รสจืด แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษ ในทางสมุนไพร มะพูด” รับประทานเป็นผลไม้ ผลสุกรสเปรี้ยวอมหวาน ผลดิบ มีรสเปรี้ยว ใช้ประกอบอาหาร แทนมะนาวได้
|
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 3 น. 82-83 - สมุนไพรไทย น. 229 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 639-640 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 6 น. 69 - ต้นไม้ยาน่ารู้ น. 288 - สารานุกรมสมุนไพร น. 358 - พรรณไม้ต้นของประเทศไทย น. 120 - ไม้อเนกประสงค์กินได้ น. 288
|
||
พิกัด UTM |
47P 0770775 m.E 1520867 m.N 47P 0770778 m.E 1520870 m.N 47P 0771089 m.E 1521530 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด
|
||
ข้อควรระวัง ไม่มีรายงานความเป็นพิษรองรับ แต่เนื่องจากผลมะพูด มีรสเปรี้ยวอมหวาน รับประทานในปริมาณมาก อาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ จึงควรระวังในผู้ที่มีอาการท้องเสียง่าย |