|
|
ชื่อ Thai Name
|
ไพล Phlai |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Zingiber montanum (J. KÖnig) Link ex A. Dietr. |
|
วงศ์ Family
|
ZINGIBERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน เมื่อผ่ามีสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ช่อดอกแทงจากเหง้า ดอกสีขาวนวล |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
ในประเทศไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เหง้า แก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล แก้ปวดท้อง พบสารมีฤทธิ์ขยายหลอดลม แก้บิด สมานลำไส้ บำรุงผิวพรรณ ไล่แมลง ใบ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 211 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 221 - สมุนไพรไทย น. 203 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 386 - 392 -สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 56 - 57
|
การปลูก ไพลสามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยทั่วๆ ไปจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก ไพลชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังหรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากจะเน่าเสียโดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรด เมื่อมีฝนชุกหรือความชื้นในดินสูง จะทำให้เกิดโรคแง่งเน่า สามารถปลูกกลางแจ้งจนถึงมีแสงแดดพอควร ส่วนต้นเหนือดินมักจะยุบหรือแห้งเมื่อเข้าฤดูแล้ง ส่วนใหญ่จะเก็บเหง้าแก่เมื่ออายุ 2-3 ปีหลังปลูก |
||
|