|
|
ชื่อ Thai Name
|
พลู Phlu |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Piper betle L. |
|
วงศ์ Family |
PIPERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
Betel pepper
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้เถา มีรากฝอยงอกตามข้อสำหรับใช้ยึดเกาะไปตามต้นไม้ มีข้อปล่องห่าง ๆ โป่งนูน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ โคนใบมนเว้า ปลายใบแหลมมีหางใบ มีกลิ่นเฉพาะและมีรสเผ็ด ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นบนแกน ดอก สีเหลืองนวลหรือสีขาว ห้อยลง ผลสด ทรงกลมเบียดกันแน่นบนแกนทุกส่วนมีรสเผ็ดร้อน |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ แก้ปวดฟัน รำมะนาด ดับกลิ่นปาก ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ปวดบวมฟกช้ำ รักษากลาก น้ำกัดเท้า แก้ลมพิษ แก้อาการอักเสบของเยื่อจมูก และแก้เล็บขบ ในทางสมุนไพร ใบ รสเผ็ดเมา แก้ปวดฟัน แก้กลิ่นปาก ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้กลาก แก้คัน แก้ลมพิษ วิธีใช้ “สมุนไพรพลู” - แก้ลมพิษ ให้ใช้ใบสดตำผสมเหล้า ทาบริเวณที่เป็น - เคี้ยวแล้วคายทิ้ง วันละ 2-3 ครั้ง ช่วยดับกลิ่นปาก - แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อและบำรุงกระเพาะอาหาร ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียด คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่ม - ลดปวดบวม ใช้ใบพลู ใบใหญ่ นำไปอังไฟให้ร้อน ใช้ประคบบริเเวณที่ปวดบวมช้ำ - รักษากลากและฮ่องกงฟุต เอาใบสดโขลกให้ละเอียดดองกับเหล้าขาวทิ้งไว้ 15 วัน กรองเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่เป็น |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 164 - สมุนไพรไทย น. 194 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 297-303 - สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 50-52 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ข้อควรระวัง ยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ |
||
|