



|
|
ชื่อ
Thai Name
|
ผักกูด
Phak kut
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scientific Name
|
Diplazium esculentum (Retz.) Sw.
|
|
วงศ์
Family
|
ATHYRIACEAE
|
|
ชื่ออื่น ๆ
Other Name
|
กูดกิน กูดคึ (ภาคเหนือ) กูดน้ำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักกูดขาว (ชลบุรี) หัสดำ (ภาคใต้) Paco
|
|
ลักษณะ
Characteristics
|
เป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบมีสีเขียวอ่อน แม้แก่จะมีสีเขียวเข้ม ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย
|
|
การกระจายพันธุ์
Distribution
|
มักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ มากกว่าในป่าทึบ มักพบบ่อยเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตในฤดูฝน ในต่างประเทศพบในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย
|
|
ประโยชน์
Utilization
|
ใบ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด มีสารบีตา-แคโรทีน และธาตุเหล็กสูง
ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่น ปลาช่อน หรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่าง ๆ ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสด ๆ กันเพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน
|
|
แหล่งข้อมูล
Reference
|
สารานุกรมสมุนไพร
|
|
คิวอาร์โค้ด
QR Code
|

|