พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชลบุรี
|
|
ชื่อ Thai Name
|
ประดู่ Pra du |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Pterocarpus macrocarpus Kurz |
||
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ฉะนอง (เชียงใหม่) ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ) ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้นสูงถึง 30 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ดอกสีเหลือง ผลมีปีกโดยรอบ
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่เมียรมาร์และลาว ออกดอก มีนาคม - พฤษภาคม ฝักแก่ สามเดือนหลังจากออกดอก
|
||
ประโยชน์ Utilization |
เนื้อไม้ สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง เปลือก สมานแผล แก้ท้องเสีย แก่น รักษาคุดทะราด แก้ไข้ บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้พิษเบื่อเมา แก้ผดผื่นคัน และทำให้เลือดลมซ่าน ใบ พอกฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ น. 109 - สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 194 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 553 - พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 202-203 |
||
พิกัด UTM |
47P 0770763 m.E 1520967 m.N 47P 0770865 m.E 1521019 m.N 47P 0770901 m.E 1521076 m.N 47P 0770901 m.E 1521127 m.N 47P 0770911 m.E 1520782 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด ก่อนเพาะ ตัดปีก แช่น้ำประมาณ 48 ชั่วโมง ข้อสังเกตและผลการทดลอง 1. เมล็ดจะงอกภายในเวลาประมาณ 10 วัน
|
||
|