พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพังงา
|
|
ชื่อ Thai Name |
เทพทาโร Thep tharo |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn. |
|
วงศ์ Family |
LAURACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
การบูร (หนองคาย) จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี รูปไข่กลับ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4–6 เซนติเมตร ยาว 9–14 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง ด้านล่างเป็นคราบขาว ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–8 มิลลิเมตร ผลแก่สีม่วงดำ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบในป่าดิบทุกภาคของประเทศ พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ เทพทาโร มีอัตราการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติต่ำ และถูกลักลอบตัดฟันมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เทพทาโรเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
|
||
ประโยชน์ Utilization |
เปลือกและเนื้อไม้ แต่งกลิ่นอาหาร เป็นยาบำรุง แก้ลมจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้ปวดท้อง ใบ ขับลม บำรุงธาตุ เมล็ด ให้น้ำมัน ถูนวดแก้ปวด เปลือก เนื้อไม้ ใบ และผล เมื่อสับหรือขยี้จะมีกลิ่นหอมแรง จึงนิยมนำส่วนต่าง ๆ ของพืชมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย นำแก่นมากลึงเป็นพระพุทธรูปหรืองานฝีมือที่มีราคาแพง |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 364-365 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 6 น. 139-140 - สารานุกรมสมุนไพร น. 235 |
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 19.5" E 13º 45´ 01.0" N 47P 0770915 m.E 1521040 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|