|
|
ชื่อ Thai Name |
ตานหก Tan hok |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific |
Litsea pierei Lecomte |
|
วงศ์ Family |
LAURACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ยางบก yang bok (สุราษฎร์ธานี) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน ช่อดอก แบบช่อซี่ร่ม ค่อนข้างสั้น มีขนประปราย ใบประดับมี 4 กลีบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปคล้ายวงกลมหรือรูปไข่กว้าง เว้าเข้าข้างใน ดอกเพศผู้เป็นช่อแบบซี่ร่ม มี 5 ดอกต่อช่อ กลีบรวมบางคล้ายเยื่อ มี 6 กลีบ รูปรี รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน มีขนประปราย ผล รูปทรงกระบอก หรือคล้ายรูปไข่ หุ้มด้วยหลอดวงกลีบรวมที่ขยายตัวเป็นรูปถ้วย หุ้มผลตั้งแต่ครึ่งผลขึ้นไป |
||
การกระจาย พันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ที่ความสูงระดับทะเล 10-150 เมตร ช่วงเวลาออกดอกเดือนกรกฎาคม ช่วงเวลาติดผลเดือนธันวาคมถึงมีนาคม นประเทศไทยพบที่ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี และตราด (เกาะช้าง คลองด่าน เกาะกูด) ในต่างประเทศพบที่ลาว กัมพูชา |
||
ประโยชน์ Utilization |
เนื้อไม้น้ำหนักเบา ไสกบตกแต่งง่าย ทนแดด ทนฝน มอด ปลวกไม่กิน แต่เปราะรับน้ำหนักมากไม่ได้ จึงนิยมใช้ทำฝาบ้าน ทำเครื่องบน เช่น แป จั่ว และทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสารของส่วนราชการในสมัยโบราณ จะนิยมทำด้วยไม้สัก และไม้ตานหก ซึ่งมีเนื้อไม้สวยงามใกล้เคียงกัน |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
ไม้ต้นหายากแห่งภาคตะวันออก : ตานหก
|
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|