|
|
ชื่อ Thai Name |
ตานหม่อน Tan mon |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Tarlmounia elliptica (DC.) H. Rob., S. C. Keeley, Skvarla & R. Chan |
|
วงศ์ Family |
ASTERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ข้าหมักหลอด kha mak lot (หนองคาย) ตานค้อน tan khon (สุราษฎร์ธานี) ตานหม่น tan mon (นครศรีธรรมราช) ลีกวนยู li kuan yu (กรุงเทพฯ)
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพันต้นอื่น เปลือกเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนและท้องใบมีขนสีเงินปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ดอกย่อยสีขาว ผล แห้ง ไม่แตก มี 5 สัน เมล็ดสีดำ รูปกระสวย |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
-
|
||
ประโยชน์ Utilization |
ต้น ราก ดอกราก แก้พิษตานซาง คุมธาตุ ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงผิวพรรณ ราก ลำต้น ใบ หรือดอก แก้ตานซาง คุมธาตุ และขับพยาธิ ยอดอ่อน น้ำมาต้ม ลวก นึ่ง ใช้รับประทานเป็นผักได้ วิธีใช้ “ขับพยาธิ” นำต้นตานหม่อนมา 30-60 กรัมล้างให้สะอาด ต้มเดือด 10-15 นาที ในน้ำท่วมตัวยา กรองกากออก รอให้เย็น ดื่มครั้งละ 1 แก้วกาแฟ (150 มล.) หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น ติดต่อกัน 3 วัน Root, flower and leaf: treatment of chronic gastro-intestinal ailment in children, usually associated with intestinal parasitism, anthelmintic |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 205 - สมุนไพรไทย น. 128 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 4 น. 451 - สารานุกรมสมุนไพร น. 214 - ไม้เทศเมืองไทย น. 248 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ข้อควรระวัง ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ |
||
|