พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสระบุรี
|
|
ชื่อ Thai Name |
ตะแบกนา Ta baek na |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Lagerstroemia floribunda Jack var. floribunda |
|
วงศ์ Family |
LYTHRACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กระแบก kra baek (ภาคใต้) ตราแบกปรี้ tra-baek-pri (เขมร) ตะแบกไข่ ta baek khai (ตราด ราชบุรี) บางอตะมะกอ ba-ngo-ta ma-ko, บางอยามู ba-ngo-ya-mu (มลายู) เปื๋อยต้อง pueai dong, เปื๋อยนา pueai na, เปื๋อยห่างค่าง pueai hang khang (ภาคเหนือ) Thai crape myrtle |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร เปลือกต้น เรียบ เป็นมัน สีเทาอมขาวและมีรอยแผล เป็นหลุมตื้น ๆ ตลอดลำต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบย่อยสีแดง มีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนหลุดหายไป แผ่นใบ รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาว ผล รูปรี ผลแก่ แตกเป็น 3 พู เมล็ดเล็ก มีปีกโค้งทางด้านบน 1 ปีก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนา ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ออกดอกเดือนกรกฎาคม-กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือนมีนาคม |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อเมื่อมีไข้ เปลือกต้น แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด เนื้อไม้ ขับโลหิตระดู แก้โลหิตจาง บำรุงโลหิต ใบ แก้ไข้ เนื้อไม้ ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ Stem bark: antidysenteric ; Leaf: antipyretic |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 130-131 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 80 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 7 น. 30 |
||
พิกัด UTM |
47P 0770584 m.E 1521750 47P 0770762 m.E 1520961 47P 0770768 m.E 1520991 47P 0770864 m.E 1521071 47P 0770892 m.E 1521080 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
|