|
|
ชื่อ Thai Name |
ตะขาบหิน Takhap hin |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Homalocladium platycladum (F. Muell.) L. H. Bailey |
|
วงศ์ Family |
POLYGONACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ตะขาบปีนกล้วย ta khap pin kluai (ภาคกลาง) เพว pheo, เฟอ foe (กรุงเทพฯ) ว่านตะขาบ wan ta khap (เชียงใหม่) ว่านตะเข็บ wan ta khep (ภาคเหนือ) Centipede plant, Ribbon bush, Tapeworm plant |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ต้นอ่อนแบน สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล กลม แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ขนาดเล็ก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอก แยกเพศคนละต้น ออกช่อกระจุกที่ข้อต้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผล ทรงกลม ฉ่ำน้ำ มี 5 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีเหลือง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
- |
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบ แก้หูน้ำหนวก ทั้งต้น รสหวานสุขุม แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน พิษฝี แก้ไอ แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ต้นและใบสด รสหวานสุขุม ตำผสมเหล้าพอกหรือคั้นน้ำทาถอนพิษแมงป่องและตะขาบ แก้บวม เคล็ดขัดยอก วิธีใช้ “แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย” นำทั้งต้นมาล้างให้สะอาด ตำคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ใช้ทาตอนเช้าและเย็นหลังอาบน้ำ Whole plant: for sprains and swelling, anti-inflammatory for centipede bite |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 170 - สมุนไพรไทย น. 120 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 58-59 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ข้อควรระวัง ไม่มีรายงานการวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ |
||
|