พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตาก
|
|
ชื่อ Thai Name
|
แดง Daeng |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Xylia xylocarpa (Roxb.) Theob. var. kerrii (Craib & Hutch.) I. C. Nielsen |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
คว้าย (กาญจนบุรี) ไปรน์ (ศรีษะเกษ) Iron wood
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีเทาปนแดง ขรุขระ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน สีน้ำตาลอ่อน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบ เป็นติ่งแหลมสั้น โคนใบมนเบี้ยว ท้องใบมีขนสีน้ำตาล ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกกลม สีเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก เรียงอัดบนฐานดอก ผล เป็นฝักแบน หนา ปลายฝักโค้ง โคนฝักสอบ ผิวเรียบ แข็งเมื่อแห้งแตกอ้า เมล็ดแบน
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นและป่าเต็งรัง ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และทางภาคใต้ ตอนเหนือของสุราษฎร์ธานี
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เนื้อไม้ สีแดงเรื่อ ๆ ถึงสีน้ำตาลแดง แข็งแรง และทนทานมาก ใช้ก่อสร้างได้ดี เช่น ทำเสา ตง ขื่อ พื้น สะพาน และหมอนรองทางรถไฟ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เมล็ด รับประทานได้ ในทางสมุนไพร ดอก รสสุขุม เข้ายาแก้ไข้ บำรุงหัวใจ เปลือกต้น รสฝาดร้อน ช่วยปรับสมดุลธาตุ ขับฟอกและบำรุงเลือด แก่น รสฝาดร้อนขื่น ขับฟอก และบำรุงเลือด ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย วิธีใช้ “บำรุงหัวใจ” นำดอกต้นแดงมา 1 กำมือ |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 237 - สมุนไพรไทย น. 117 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 32
|
||
พิกัด UTM |
47P 0770774 m.E 1520978 m.N 47P 0770774 m.E 1520997 m.N 47P 0770882 m.E 1520321 m.N 47P 0770939 m.E 1520986 m.N 47P 0770966 m.E 1521641 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
ข้อควรระวัง ไม่มีรายงานรับรองเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วันหรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
|