|
|
ชื่อ Thai Name |
ชำมะเลียง Cham maliang |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. |
|
วงศ์ Family |
SAPINDACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
โคมเรียง khom riang (ตราด) ชำมะเลียงบ้าน Chamma liang ban, พุมเรียงสวน phum riang suan (ภาคกลาง) พุมเรียง phum riang (ภาคใต้) พูเวียง phu wiang (นครราชสีมา) มะเถ้า ma thao (ภาคเหนือ)
|
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 4-7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปรี ขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบเป็นแผ่นกลม ดอกช่อ ออกที่กิ่งและลำต้น กลีบดอกบาง รูปรี กลีบเลี้ยงรูปรี สีม่วง ผล ทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลสดสีเขียวอมม่วงแดง เมื่อสุกสีม่วงดำ เนื้อผลฉ่ำน้ำ เมล็ดเดี่ยว กลม ผิวเรียบ สีดำ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
ตามแนวชายป่าหรือริมลำธาร ที่ความสูงจากระดับทะเลถึง 1,000 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค พบมากในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก แก้ไข้เหนือ แก้ผูกไม่ถ่าย แก้ร้อนใน แก้ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้กำเดา กระสับกระส่าย ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ผล แก้ท้องเสีย Fruit: antidiarrheal วิธีทำ “น้ำชำมะเลียง” 1. เลือกผลชำมะเลียงที่สุกงอมมา 1 ถ้วย มาล้างให้สะอาด ใส่ลงในภาชนะ |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน น. 70 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 138-139 - สมุนไพรไทย น. 105 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) |
||
พิกัด UTM |
47P 0772065 m.E 1521222 m.N 47P 0772117 m.E 1521296 m.N 47P 0772229 m.E 1521156 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด |
||
ข้อควรระวัง ไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
|