|
|
ชื่อ Thai Name |
ช้าพลู Cha phlu |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Piper sarmentosum Roxb. |
|
วงศ์ Family |
PIPERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
นมวา nom wa (ภาคใต้) ผักปูนา phak pu na, ผักพลูนก phak phlu nok, พลูลิง phlu ling (ภาคเหนือ) เย่เท้ย ye-thoei (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) Betel, vietnamese pepper |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก มีไหลออกเป็นต้นใหม่ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ รูปทรงกระบอก สีขาวนวล ผลกลม ผิวมัน |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเแียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก บำรุงธาตุ แก้เมื่อยขบ รากและลำต้น แก้ปัสสาวะรดที่นอน ใบ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เลือดลมซ่าน ผล ช่วยย่อยอาหาร ทั้ง 5 ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา ในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ Whole plant: expectorant ; Leaf: carminative |
||
แหล่งข้อมูล Reference คิวอาร์โค้ด QR Code
|
- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน น. 68 - สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 167 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 174 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น.172 - สมุนไพรไทย น. 104 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 827-829
|
ขยายพันธุ์โดย : การปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้ ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื้น |
||
|