|
|
ชื่อ Thai Name
|
เฉียงพร้านางแอ Chiang phra nang ae |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Carallia brachiata (Lour.) Merr. |
|
วงศ์ Family
|
RHIZOPHORACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
แก๊ก วงคด วงคต (ลำปาง) ขิงพร้า เขียงพร้า (ตราด ประจวบคีรีขันธ์) เขียงพร้านางแอ (ชุมพร) คอแห้ง สีฟัน (ภาคใต้) เฉียงพร้า ตะแบง (สุรินทร์) ต่อใส้ สันพร้านางแอ (ภาคกลาง) นกข่อ ส้มป้อง (เชียงใหม่) บงคด (แพร่) บงมัง (ปราจีนบุรี อุดรธานี) ม่วงมัง หมักมัง (ปราจีนบุรี) ร่มคมขวาน (กรุงเทพฯ) สีฟันนางแอ (ภาคเหนือ) โองนั่ง (อุตรดิตถ์)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ดอกเป็นกระจุกแน่น ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปคล้ายสามเหลี่ยม สีเขียวอ่อน กลีบดอกขนาดเล็ก สีครีม ผลสด รูปกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 มิลลิเมตร เมื่อสุกสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเมื่อสุกจัด ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม
|
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าพรุน้ำจืด และป่าดิบชื้น จนถึงที่ความสูงจากระดับทะเลประมาณ 1,300 เมตร ในภูมิภาคมาเลเซียพบจนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบตั้งแต่มาดากัสการ์ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลีย
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะและโลหิต สมานแผล แก้บิด แก้พิษผิดสำแดง ลำต้น แก้ไข้ บำรุงร่างกาย และช่วยเจริญอาหาร
|
||
แหล่งข้อมูล Reference |
สารานุกรมสมุนไพร น. 175
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 25.9" E 13º 45´ 01.4" N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|