|
|
ชื่อ Thai Name |
แจง Chaeng |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Maerua siamensia (Kurz) Pax |
|
วงศ์ Family |
CAPPARACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
แกง kaeng (นครราชสีมา) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูงไม่เกิน 10 เมตร มีเกล็ดหุ้มยอด ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 1-5 ใบย่อย ดอกช่อ คล้ายช่อเชิงหลั่น ออกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง หรือดอกเดี่ยวออกที่ง่ามใบ ไม่มีกลีบดอก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปรีหรือกลม เมื่อสุกสีเหลืองเข้ม ผิวขรุขระ เมล็ดรูปไต |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาคจนถึงภาคใต้ตอนบน ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง หรือตามป่าโปร่ง โดยเฉพาะเขาหินปูนเตืี้ย ๆ ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร |
||
ประโยชน์ Utilization |
ใบเขียวตลอดปี ใบและดอกอ่อนกินเป็นผักดองคล้ายกุ่ม ราก บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย ราก เปลือกต้น และใบ แก้ดีซ่าน แก้อาการหน้ามืด แก้ตาฟาง แก้ไข้มาลาเรีย ลำต้น แก้ปวดหลัง บำรุงธาตุ ใบและยอด แก้แมงกินฟัน แก้ไข้ Root: tonic, diuretic, treatment of abnormal urination |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 157 - พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 150 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 737 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 4 น. 311 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ดหรือการตอนกิ่ง |
||
|