|
|
ชื่อ Thai Name |
ข่อย Khoi |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Streblus asper Lour. |
|
วงศ์ Family
|
MORACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ซะโยเส่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มพอ (เลย) สะนาย (เขมร) Siamese rough bush, Tooth brush tree |
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น สูง 5-15 เมตร ต้นและกิ่งค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้นหรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป เปลือกต้น สีเทาอ่อน บาง ขรุขระเล็กน้อย แตกเป็นแผ่นบาง ๆ มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบหยัก ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน ดอก สีเหลืองอมเขียว ออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง ผล กลมหรือมี 2 พู สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอ่อน เมล็ดแข็ง |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามชายป่า ที่โล่ง หรือบนเขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับทะเลถึงประมาณ 700 เมตร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศไทย พบตามที่ลุ่ม ป่าเบญจพรรณทั่วไป และป่าละเมาะ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ |
||
ประโยชน์ Utilization
|
น้ำยางมีน้ำย่อยที่ชื่อว่า milk (lotting enzyme) มีประโยชน์ในการช่วยย่อยน้ำนม ในทางสมุนไพร : กิ่งสด ขนาดเล็กนำมาทุบใช้สีฟัน ทำให้เหงือกและฟันทน เปลือกต้น รสเมาฝาดขม นำมาต้มใส่เกลือให้เค็มใช้รักษาฟัน แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม รักษารำมะนาดี แก้ท้องเสีย เนื้อไม้ แก้ปวดฟัน แก้กระษัย ใบ รสเมาเฝื่อน เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้ปวดประจำเดือน ผล รสเมาหวานร้อน บำรุงธาตุ แก้ลม แก้กระษัย ขับลมจุกเสียด เป็นยาอายุวัฒนะเมล็ด รสเมามันร้อน แก้ลมและเป็นยาอายุวัฒนะ |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 213 สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 49 พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 1 น. 186-187 สมุนไพรไทย น. 60 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 395-398 สมุนไพรไทย ตอนที่ 7 น. 252-253
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 24.3" E 13º 45´ 02.6" N 47 P0770902 m.E 15211306 m.N 47P 0771049 m.E 1520285 m.N 47P 0771064 m.E 1521565 m.N 47P 0771084 m.E 1521523 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการปักชำ |
||
|