|
|
ชื่อ Thai Name |
ขลู่ Khlu |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Pluchea indica (L.) Less. |
|
วงศ์ Family |
ASTERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ขลู (ภาคใต้) หนวดงั่ว หนวดงิ้ว หนาดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) Indian marsh fleabane |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีขนตามกิ่งอ่อน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มีติ่ง โคนสอบเรียว ขอบใบหยักเป็นซี่ฟันห่าง ๆ แผ่นใบค่อนข้างหนา ไร้ก้านหรือมีก้านสั้น ๆ ดอก ออกเป็นช่อแยกขนงตามปลายยอด ช่อย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ดอกย่อยมี 2 แบบ ตรงกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกที่เหลืออยู่รอบ ๆ เป็นดอกเพศเมีย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล เป็นผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก เป็นสันเหลี่ยม 10 สัน |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
ขึ้นตามชายฝั่งทะเล ชายป่าโกงกาง ในประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมาร์ ไห่หนาน ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้ ขับเหงื่อ เปลือก รักษาริดสีดวงจมูกและรักษาริดสีดวงทวาร ใบ รักษาริดสีดวงทวาร แก้ไข้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้กระหายน้ำ ขับเหงื่อ ทั้ง 5 ขับปัสสาวะ แก้โรค เบาหวาน รักษาริดสีดวงทวาร ในทางสมุนไพร ดอก รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้นิ่ว ทั้งต้น รสหอมฝาดเมาเค็ม แก้นิ่วในไต ขับปัสสาวะ แก้ตกขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวาร แก้เบาหวาน แก้ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง วิธีใช้ “แก้ผื่นคันและรักษาโคผิวหนัง นำต้นขลู่สดมาทั้งต้นประมาณ 300 กรัม ล้างให้สะอาด ต้มในระดับน้ำ 2 เท่าจากตัวยา ต้มเดือด 10-15 นาที |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อนฉบับสมบูรณ์ น. 34 - สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 168 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 238 - สมุนไพรไทย น. 59 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 391-394 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 4 น. 436 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การปักชำ ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด |
||
ข้อควรระวัง ต้นขลู่ที่ขึ้นตามธรรมชาติจะอยู่ในป่าชายเลน ทำให้มี เกลือโซเดียมคลอไรด์สูง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก
|