|
|
ชื่อ Thai Name
|
เขลง Khleng |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Dialium cochinchinense Pierre |
|
วงศ์ Family
|
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
เค็ง หมากเค็ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นางดำ (นครราชสีมา) ยี (ภูเก็ต) หยี (ภาคใต้) Velvet tamarind |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มี 5-9 ใบย่อย ดอกช่อแยกแขนง สีขาวครีม ไม่มีกลีบดอก ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ผลเป็นฝัก เมื่อแก่สีดำ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไปใกล้ลำธาร ในประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้พบขึ้นห่าง ๆ ตามป่าโปร่ง หรือป่าทุ่ง ที่มีปริมาณฝนสูงพอควรเช่นทางภาคใต้
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ราก รักษาแผล บำรุงน้ำนม ช่วยเจริญอาหาร เปลือก แก้ท้องเสีย รักษาโรคริดสีดวง ยอดอ่อน เป็นยาระบาย เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง เปลือกและแก่นย้อมสีให้สีน้ำตาลอมแดง เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างทั่วไป |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ น. 44 กกยาอีสาน น. 86 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5) น. 175 พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 69
|
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 43.2" E 13º 45´ 28.2" N 47 P0770897 m.E 1521278 m.N 47P 0771387 m.E 1522497 m.N 47P 0771409 m.E 1522533 m.N 47P 0771423 m.E 1522551 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
การปลูกโดย การเพาะเมล็ด |
||
|