
|
|
ชื่อ Thai Name |
ข่าลิง Kha ling |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Alpinia conchigera Griff. |
|
วงศ์ Family |
ZINGIBERACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กูวะกือติง ku-wa-kue-ting (มลายู-นราธิวาส) ข่า kha (อุบลราชธานี) |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน สูง 50-150 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบแหลม ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีเขียวอ่อน กลีบปากสีชมพู ผลกลม เมื่อสุกสีแดง ปลายผลมักมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามที่ชื้นของป่าดงดิบ ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม-กุมภาพันธ์ |
||
ประโยชน์ Utilization |
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด หรือผักลวก ราก แก้พิษฝี รักษากลาก เกลื้อน เหง้า แก้ประดง รักษากามโรค รักษาโรคผิวหนัง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ใบ รักษากลาก เกลื้อน ดอก ขับพยาธิ แก้ปวด Rhizome: carminative, treatment of gonorrheal disesaes ; Leaf: antifungal |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 419-420 - สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน น. 17 - สารานุกรมสมุนไพร น. 131 |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การใช้เหง้า |
||
|