พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสมุทรสาคร
|
|
ชื่อ Thai Name
|
สัตบรรณ sattaban |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Alstonia scholaris (L.) R. Br. |
|
วงศ์ Family
|
APOCYNACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
ชบา ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง) ตีนเป็ดดำ (นราธิวาส) ยางขาว (ลำปาง) หัสบรรณ (กาญจนบุรี) Blackboard tree, Devil ,s bark, Devil tree, White cheesewood |
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น น้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงวนรอบข้อ ดอกช่อ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ผลเป็นฝักคู่ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดงดิบชื้น และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณ ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกเดือนตุลาคม-ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม เมล็ดแก่ประมาณเดือนมีนาคม
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก แก้ไข้ สมานลำไส้ แก้บิด ท้องเดินเรื้อรัง ขับพยาธิ แก้ไข้หวัด และแก้หลอดลมอักเสบ กระพี้ ขับผายลม ใบ แก้ไข้หวัด ดอก แก้โลหิตพิการ ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน
เนื้อไม้ สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 45 สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 90 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) น. 243-247 สมุนไพรไทย ตอนที่ 2 น. 96-98
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด |
||
|