|
|
ชื่อ Thai Name
|
สมอไทย Samo thai |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Terminalia chebula Retz. var. chebula |
|
วงศ์ Family
|
COMBRETACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name
|
สมออัพยา (ภาคกลาง) ส้มมอ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) Myrabolan wood |
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ต้น ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีต่อมที่ก้านใบ ดอกช่อ สีเหลืองอมเขียว ผลสด รูปรีหรือค่อนข้างกลม มีสัน 5 สัน |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรญแล้ง จนถึงที่ความสูงจากระดับทะเล 800 เมตร ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ยกเว้น ในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดียถึงนิวกินี
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
เปลือก ขับน้ำเหลือง ใบ เป็นยาระบาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ผลอ่อน เป็นยาระบาย ผลแก่ เป็นยาระบายรู้เปิดรู้ปิด ฝาดสมาน แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้บิด แก้ลมจุกเสียด |
||
แหล่งข้อมูล Reference
|
สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 200 สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 125 สมุนไพรไทย น. 286 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (4) น. 469-477 สมุนไพรไทย ตอนที่ 4 น. 362-363 สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 84-85 พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1 น. 92-93 |
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด การตอน หรือการปักชำ |
||
|