สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

 

 

                                                                   

                                                                 

    

ชื่อ

Thai Name  

บานบุรีเหลือง

Ban buri lueang


    

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Scientific Name   

Allamanda cathartica L.



วงศ์

Family             

APOCYNACEAE



ชื่ออื่น ๆ

Other Name    

-


                    

ลักษณะ 

Characteristics   

ไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม น้ำยางสีขาว เรียงวนรอบข้อ 3 – 5 ใบ ดอกช่อ ออกที่ยอด กลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง เมื่อแก่แตกไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม เถากลม เรียบ สีน้ำตาล น้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงวนรอบข้อ 3-5 ใบ รูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ยอด กลีบดอกสีเหลือง โคนดอกเชื่อมติดกัน เป็นหลอดแคบยาว ผล ทรงกลม เป็นหนาม เมื่อแก่แตกออกได้


การกระจายพันธุ์

Distribution 

-



ประโยชน์                Utilization          

เปลือกต้นและน้ำยาง รสเมาร้อน ใช้ปริมาณน้อยเป็นยาถ่าย ปริมาณมากเป็นพิษต่อหัวใจ และทำให้ท้องเสีย ใบ รสเมาร้อน เป็นยาระบาย แก้จุกเสียด ทำให้อาเจียน


วิธีใช้“เป็นยาระบาย”

นำใบบานบุรีเหลืองมา 2-5 ใบ ล้างให้สะอาด ต้มเดือดในน้ำสูง 3 เท่าจากตัวยา ต้มเดือด 10-15 นาที ดื่มก่อนนอน 1 แก้วกาแฟ


แหล่งข้อมูล

Reference                                  

- สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 114

- พืชสมุนไพรในประเทศไทย ตอนที่ 2 น. 20-21

- สมุนไพรไทย น. 163

- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 523-525

-  สมุนไพรไทย ตอนที่ 2 น. 94    


พิกัด

UTM

47P 0771468 m.E 1520858 m.N



คิวอารืโค้ด

QR  Code


ข้อควรระวัง

1) บานบุรีเหลืองเป็นพืชมีพิษ ทุกส่วน   หากใช้ปริมาณน้อยเป็นยาระบายและทำให้อาเจียน ใช้มาก ๆ จะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรงและทำให้อาเจียนไม่หยุด ร่างกายอ่อนเพลีย และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
2) ยางหรือผล ทำให้อาเจียน ท้องเสียรุนแรง หายใจไม่สม่ำเสมอ มีไข้สูง สูญเสียน้ำและ     เกลือแร่มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้
3) ทั้งต้นและยางมีสารพิษ digitalis ที่ระคายเคืองเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหาร ทำให้อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง และปวดศีรษะ เป็นพิษต่อหัวใจ วิธีการรักษาขั้นต้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด แล้วให้ทำการล้างท้องและรักษาไปตามอาการ
4) ผลและยางจากต้น มีพิษ หากยางจากต้นถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการอักเสบ คัน แดง                                                                                                                                                                                                                                 

            

 

Page : [Back] 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  [Next]
view